ฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตในยุคโบราณ ถือเป็นหลักฐานสำคัญในการศึกษาโลกดึกดำบรรพ์ รวมถึงเผยความลับของกระบวนการวิวัฒนาการว่าสิ่งมีชีวิตในยุคปัจจุบัน มีที่มาจากไหน และแตกต่างจากบรรพบุรุษในอดีตอย่างไร
หนึ่งในฟอสซิลที่นักวิทยาศาสตร์เคยค้นพบคือ “เต่าทะเลโบราณยุคจูราสสิค” หรือประมาณ 150 ล้านปีก่อน ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า โซลน์โฮเฟีย พาร์ซอนซี (Solnhofia parsonsi)
แต่ที่ผ่านมา ฟอสซิลของเต่าทะเลโซลน์โฮเฟีย พาร์ซอนซี ที่พบมักไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่ทราบลักษณะหรือหน้าตาโดยแน่ชัดของบรรพบุรุษเต่าทะเลชนิดนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์ได้พบฟอสซิลเต่าทะเลโซลน์โฮเฟีย พาร์ซอนซี ชิ้นใหม่ ซึ่งมีหัว แขน และขา ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งหมด เผยให้เห็นรูปร่างและโครงสร้างทั้งหมดของเต่าชนิดนี้ชัด ๆ เป็นครั้งแรก
นักวิทย์คืนชีพพยาธิตัวกลมโบราณในไซบีเรีย หลังจำศีลนาน 46,000 ปี
นักวิทย์พบหลักฐานยืนยัน โลกเข้าสู่ยุคสมัย “แอนโทรโพซีน” แล้ว!
หลักฐานจากฟอสซิล บรรพบุรุษมนุษย์ “อาจเคยกินกันเองเป็นอาหาร”
เต่าทะเลในปัจจุบันทุกชนิดมีเท้าเป็นครีบที่ยาวและแข็ง คล้ายตีนกบ เพื่อขับเคลื่อนร่างกายไปในมหาสมุทรได้อย่างคล่องแคล่ว แต่แขนขาของฟอสซิลที่เพิ่งพบใหม่นั้น พบว่าค่อนข้างสั้นกว่าเต่าทะเลสมัยใหม่ เมื่อเทียบกับขนาดตัวของมัน
แขนขาที่สั้นกว่าเหล่านี้บ่งชี้ว่า โซลน์โฮเฟีย พาร์ซอนซี ว่ายในน่านน้ำชายฝั่งมากกว่าในมหาสมุทรเปิด
เฟลิกซ์ ออกุสติน หัวหน้าทีมผู้ค้นพบ นักศึกษาระดับปริญญาเอกจากภาควิชาธรณีศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยทือบิงเงินในเยอรมนี กล่าวว่า “ฟอสซิลใหม่นี้เป็นซากที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีที่สุดของสายพันธุ์นี้ … มันเป็นครั้งแรกที่พบกะโหลกศีรษะที่สมบูรณ์ เปลือกที่สมบูรณ์ และแขนขาทั้งสี่”
ฟอสซิลเต่าทะเลโซลน์โฮเฟีย พาร์ซอนซี ที่พบนั้น เมื่อวัดความยาวจากจมูกถึงหางได้ประมาณ 30 เซนติเมตร และหัวของมัน “ค่อนข้างใหญ่” เฉพาะส่วนกะโหลกวัดได้ประมาณ 10 เซนติเมตร
ดร.มาร์ตัน ราบี จากภาควิชาธรณีศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทือบิงเงิน หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า กระโหลกขนาดใหญ่เช่นนี้อาจมีประโยชน์ในการกระแทกกระดองแข็งของสัตว์จำพวกครัสเตเชียน (กุ้ง กั้ง ปู) และหอย ที่อาศัยอยู่ก้นทะเล แต่ข้อสรุปดังกล่าวยังเป็นเพียงการคาดเดา ”เนื่องจากนักบรรพชีวินวิทยายังไม่พบหลักฐานโดยตรงเกี่ยวกับอาหารของเต่าที่สูญพันธุ์ไปแล้วนี้”
ฟอสซิลใหม่นี้ถูกขุดพบในปี 2014 จากเหมืองหินปูนทางตะวันออกเฉียงใต้ของเยอรมนี นำเสนอมุมมองที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นของแขนขาเต่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พวกมันแตกต่างอย่างมากจากแขนขาของเต่าทะเลที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
ออกัสตินกล่าวว่า “ในเต่าทะเลสมัยใหม่ แขนขาจะยาวขึ้นมาก เพื่อทำหน้าที่เป็นครีบในสภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตที่ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล” เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว แขนขาและเท้าของฟอสซิล โซลน์โฮเฟีย พาร์ซอนซี นั้นยาวน้อยกว่า ดังนั้นสปีชีส์นี้น่าจะปรับตัวให้ว่ายน้ำเข้าใกล้ชายฝั่งได้ดีกว่า แทนที่จะอยู่ห่างออกไปในมหาสมุทรเปิดแบบปัจจุบัน
สมมติฐานดังกล่าวสมเหตุสมผล เมื่อพิจารณาจากสถานที่ขุดพบซากดึกดำบรรพ์ ราบีบอกว่า พื้นที่ทางตอนใต้ของเยอรมนีในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ขุดค้นพบฟอสซิลนั้น ในช่วงยุคจูราสสิคเป็นหมู่เกาะที่เต็มไปด้วยเกาะเล็ก ๆ โดยสันนิษฐานว่า ถิ่นที่อยู่ของ โซลน์โฮเฟีย พาร์ซอนซี น่าจะเป็นแนวปะการังชายฝั่งและทะเลสาบ “เต่าโบราณชนิดนี้น่าจะอยู่ใกล้ชายฝั่งไม่มากก็น้อย”
อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ที่นี่คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
เรียบเรียงจาก CNN
ภาพจาก Felix Augustin