เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ที่กระทรวงคมนาคม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามผลการดำเนินงานโครงการสำคัญตามนโยบายของ รมว.คมนาคม และ รมช.คมนาคม ว่า ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน และติดตามผลดำเนินงานโครงการสำคัญตามนโยบาย รมว.คมนาคม และรมช.คมนาคม เพิ่มเติม ซึ่งมีตนเป็นประธานคณะกรรมการฯ จากคำสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ 1080/2566 ลงวันที่ 16 ต.ค. 2566 โดยแต่งตั้งนางมนพร เจริญศรี และนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เป็นรองประธานคณะกรรมการฯ พร้อมด้วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, โฆษกกระทรวงคมนาคม และผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม 1 เป็นกรรมการ เพื่อขับเคลื่อนดำเนินการเกิดผลทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งติดตาม และตรวจสอบความคืบหน้าแต่ละโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการชุดดังกล่าว จะประชุมในทุกเดือน เพื่อติดตามข้อสั่งการให้เป็นไปตามแผน
สำหรับโครงการสำคัญตามนโยบายกระทรวงคมนาคม รวม 72 โครงการ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 66-70 แบ่งเป็น โครงการด้านคมนาคมขนส่งที่ความสำคัญเชิงพื้นที่ 13 โครงการ, ด้านคมนาคมขนส่งทางบก 29 โครงการ, ด้านคมนาคมขนส่งทางราง 22 โครงการ, ด้านคมนาคมขนส่งทางอากาศ 4 โครงการ, ด้านคมนาคมขนส่งทางน้ำ 4 โครงการ ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพิเศษ ได้แก่ พื้นที่ จ.ภูเก็ต เช่น การเพิ่มปริมาณการรองรับผู้โดยสาร (Capacity) สนามบินกระบี่ เพื่อรองรับผู้โดยสารจาก 4 ล้านคน เป็น 8 ล้านคนต่อปี, การพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ระยะที่ 2 การก่อสร้างท่าอากาศยานภูเก็ตแห่งที่ 2 (ท่าอากาศยานพังงา) และการสร้างทางพิเศษ สายกระทู้-ป่าตอง เป็นต้น ขณะที่โครงการพัฒนาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เช่น การพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ และพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่แห่งที่ 2 และระบบขนส่งมวลชน จ.เชียงใหม่ เป็นต้น
นายสุริยะ กล่าวต่อว่า ส่วนโครงการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งทางบก เช่น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 6 (M6) สายบางปะอิน-นครราชสีมา เตรียมเปิดใช้อำนวยความสะดวกเทศกาลปีใหม่ 67 ช่วง อ.ปากช่อง-อ.สีคิ้ว-อ.ขามทะเลสอ-ทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา 77.493 กม. เริ่มเปิดบริการตั้งแต่เวลา 00.01 ของวันที่ 28 ธ.ค. 66 เป็นต้นไป, มอเตอร์เวย์ หมายเลข 81 (M81) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ที่จะเปิดใช้ช่วงปีใหม่ 67 ช่วงตั้งแต่ตอน 13 บริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางด่านนครปฐมฝั่งตะวันตก จนถึงตอน 23 บริเวณด่านกาญจนบุรี ระยะทาง 50 กม. ขนาด 4 ช่องจราจร ทิศทางละ 2 ช่อง จะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 00.01 ของวันที่ 28 ธ.ค. 66 จนถึงเวลา 24.00 น. ของวันที่ 3 ม.ค. 67 และมอเตอร์เวย์หมายเลข 82 (M82) ช่วงบ้านแพ้ว-ปากท่อ ระยะทาง 47 กม. ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาด้านการเวนคืนที่ดินประชาชน คาดว่าการก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 74
ทั้งนี้ในวันที่ 20-21 พ.ย. 66 กระทรวงฯ จะประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ทั้งส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจเข้าร่วม เพื่อนำเสนอโครงการต่างๆ ของกระทรวงคมนาคมทั้ง 4 มิติ คือ ทางบก ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ รวมทั้งนำเสนอผลงานของรัฐบาล 99 วันแรกภายหลังเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งนำเสนอสิ่งที่จะดำเนินการในปีต่อๆ ไปคำพูดจาก สล็อตทดลองเล่นฟรี
ด้านนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า เร่งรัดโครงการ M82 ช่วงบ้านแพ้ว-ปากท่อ ระยะทาง 47 กม. วงเงิน 53,219 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้างงานโยธา งานระบบ 52,913 ล้านบาท (รวมค่าบริหารโครงการและควบคุมงาน) และค่ากรรมสิทธิ์ที่ดิน 306 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมของบประมาณปี 68 เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมของโครงการ คาดเริ่มก่อสร้างในปี 70 เสร็จปี 74
นอกจากนี้เร่งรัดโครงการ M8 ระยะทาง 109 กม. วงเงิน 71,995.20 ล้านบาท แบ่งก่อสร้างเป็น 2 ช่วง ได้แก่ 1.ช่วงนครปฐม-ปากท่อ ระยะทาง 61 กม. วงเงิน 43,227.16 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างงานโยธา 29,156 ล้านบาท ค่าเวนคืน 12,287.87 ล้านบาท และค่าก่อสร้างงานระบบ (O&M) 1,783.29 ล้านบาท ปัจจุบันเตรียมเสนอ ครม. ขออนุมัติดำเนินโครงการโดยใช้แหล่งเงินกู้ก่อสร้างงานโยธาปี 67 ขณะเดียวกันเตรียมเสนออนุมัติรูปแบบการใช้เอกชนร่วมลงทุน ก่อสร้างงานระบบ O&M ในปี 67 คาดก่อสร้างปี 69 เสร็จปี 72 และ 2.ช่วงปากท่อ-ชะอำ 48 กม. วงเงิน 28,768.04 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างงานโยธา 24,017.08 ล้านบาท ค่าเวนคืน 3,807.77 ล้านบาท และค่าก่อสร้างงาน O&M จำนวน 943.19 ล้านบาท อยู่ระหว่างทบทวนแนวเส้นทางและผลกระทบด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ตามที่ประชาชนในพื้นที่มีข้อร้องเรียน คาดว่าใช้เวลาทบทวน 1 ปี หลังจากนั้นมีแผนจะสร้างปี 76 เสร็จปี 80
รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการสำคัญที่กระทรวงคมนาคมเร่งเปิดประมูลในปี 67 จำนวน 14 โครงการ มูลค่า 5.7 แสนล้านบาท ได้แก่ 1.รถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 29,748 ล้านบาท 167 กม. คาดเริ่มสร้าง เม.ย. 67 2.สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี งานโยธา ฝั่งตะวันตก และงานระบบ วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท คาดสร้าง พ.ค. 67 3.ขยายช่องจราจร ทล.4027 ช่วง บ.พารา-บ.เมืองใหม่ ค่าก่อสร้าง 510 ล้านบาท 4.55 กม. เริ่มสร้าง ส.ค. 67 4.โครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา บน M7 ช่วงชลบุรี-พัทยา วงเงินก่อสร้าง 1,615 ล้านบาท เริ่มก่อสร้าง ส.ค. 67 5.โครงการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง บน M7 ช่วงพัทยา-มาบตาพุด วงเงิน 766 ล้านบาท เริ่มสร้าง ส.ค. 67
6.ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา (M7) วงเงิน 4,508 ล้านบาท เริ่มสร้าง ก.ย. 67 7.ทางแยกต่างระดับที่จุดตัด ทล.402 กับ ทล.4027 และ ทล.4025 วงเงินกว่า 2,000 ล้านบาท เริ่มสร้าง ก.ย. 67 8.สายสีแดงช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ วงเงิน 6,468 ล้านบาท เริ่มสร้าง ก.ย. 67 9.สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 10,670 ล้านบาท เริ่มสร้าง ก.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 67 10.รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน 37,527 ล้านบาท เริ่มสร้าง ก.ย. 67 11.สายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 4,694 ล้านบาท เริ่มสร้าง ก.ย. 67 12.ทางพิเศษ กะทู้-ป่าตอง วงเงิน 14,670 ล้านบาท เริ่มก่อสร้าง ก.ย. 67 13.ทางพิเศษสายจตุโชติ-ถนนวงแหวนรอบนอกฯ รอบที่ 3 วงเงิน 24,060 ล้านบาท เริ่มสร้าง ต.ค. 67 และ 14.รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน นครราชสีมา-หนองคาย วงเงิน 300,000 ล้านบาท เริ่มสร้าง ธ.ค. 67