พรรคที่คนจับตามองว่า จะจับมือกันหรือไม่มากที่สุด คือ เพื่อไทย กับ พลังประชารัฐ ชัดเจนที่สุด คือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ตอบคำถามนี้ผ่านการสัมภาษณ์ของสื่อ บอกว่า “ถ้านโยบายตรงกันก็ร่วมกัน”
คำตอบชัดที่สุด แม้ว่า คนในพรรคอย่าง นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรค หรือ แม้แต่ นายสกลธี ภัททิยกุล หัวหน้าทีมดูแลการเลือกตั้ง กทม. เคยบอกว่า ร่วมกันไม่ได้ รวมถึงบอกด้วยซ้ำว่าหากรวมกัน ก็อาจต้องพิจารณาตัวเอง เพราะ แนวทางไม่ตรงกัน
เลือกตั้ง 2566 : เช็กหน่วยเลือกตั้ง – ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง ง่ายๆ ไม่กี่คลิก!
เลือกตั้ง 2566 : เช็กเบอร์ "พรรคการเมือง 2566" แบบบัญชีรายชื่อ
ขณะที่ฝั่งของพรรคเพื่อไทย เหมือนว่าจะ ปฎิเสธไม่จับมือกับพรรคพลังประชารัฐ แต่หากถอดความดีดี ดูเหมือนว่า จริงๆแล้ว ไม่ได้ปฎิเสธ เพราะ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร บอกว่า “ไม่จับมือเผด็จการ” แต่ก็ย้ำว่า “วันนี้ต้องการแลนด์สไลด์ และ เร็วเกินไปที่จะพูดเรื่องการจับมือกับใคร"
ส่วน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เคยพูดบนเวทีบนเวทีปราศรัยใหญ่ 5 เมษายน ที่ผ่านมา บอกว่า ไม่มีดีลกับใคร และ พรรคเพื่อไทยไม่มีดีลลับกับพรรคพลังประชารัฐ และ พล.อ.ประวิตร คำตอบนี้ เหมือนจะปฏิเสธ แต่จริงๆ แล้ว แค่เป็นการบอกว่า “ไม่มีดีล” แต่ไม่ได้การันตีว่าหลังเลือกตั้ง จะไม่มี หรือไม่
ขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ ที่แสดงท่าที การจะจับมือหรือไม่จับมือกับพรรคไหน พบว่า ก็มีความชัดเจนหลายพรรค
เช่น ก้าวไกล แกนนำทุกคน พูดชัด ว่า พรรคจะไม่จับมือกับ พลังประชารัฐ และ รวมไทยสร้างชาติ
ขณะที่ ฝั่ง รวมไทยสร้างชาติ ก็พูดชัดว่า ไม่จับมือ กับ พรรคก้าวไกล
ส่วน พรรคเสรีรวมไทย พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ออกตัวแรงตั้งแต่เดือนก่อน ว่า ร่วมได้ทุกพรรค ยกเว้น รวมไทยสร้างชาติ ของพล.อ.ประยุทธ์ ให้เหตุผลว่า เพราะ เป็นคนรัฐประหาร
ขณะที่พรรคภูมิใจไทย นายอนุทิน ชาญวีรกุล หัวหน้าพรรค บอกว่า ยังไม่คิดจับมือกับใคร แต่จากท่าทีก็จะเห็นว่า นายอนุทิน วางตัว อยู่ตรงกลางระหว่างพล.อ.ประยุทธ์ และพล.อ.ประวิตร รวมถึงไม่วิพากษ์วิจารณ์ นายทักษิณ ด้วย ขณะเดียวกัน มีการบอกแค่ว่า จะไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคที่มีแนวคิดแก้ไขม.112
ส่วน พรรคประชาธิปัตย์ สงวนท่าที ไม่ตอบคำถามนี้ บอกแค่ให้รอหลังการเลือกตั้งคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ส่วนชาติพัฒนากล้า นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรค บอกว่า พร้อมปรองดองกับทุกพรรคการเมือง